top of page

Doubtful Expense
หนี้สงสัยจะสูญ

          จากนิยามศัพท์ของสภาวิชาชีพบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2557) เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญ ได้ให้ความหมายดังนี้

          ลูกหนี้การค้า (Trade account receivable) หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดดำเนินการค้าตามปกติของกิจการ

          หนี้สูญ (Bad debt) หมายถึง ลูกหนี้ที่ได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุด แต่ไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ และได้ตัดจำหน่ายออกจากบัญชี

          หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Accounts) หมายถึง ลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ และถือเป็นค่าใช้จ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แต่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากร

          ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Accounts) หมายถึง จำนวนที่กันไว้สำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ และถือเป็นบัญชีปรับมูลค่าที่ตั้งขึ้น เพื่อแสดงเป็นรายการหักจากบัญชีลูกหนี้การค้าในงบแสดงฐานะการเงิน เพื่อให้ยอดคงเหลือ เป็นมูลค่าสุทธิของลูกหนี้การค้าที่คาดหมายว่าจะเก็บเงินได้

          การตัดลูกหนี้ที่เรียกเก็บเงินไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายทำได้ 2 วิธี คือ

          1. วิธีตัดจำหน่ายโดยตรง (Direct Write off Method) กิจการจะบันทึกบัญชีตามวิธีนี้เมื่อเกิดหนี้สูญจริง ซึ่งสอดคล้องกับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า กิจการจะนำหนี้สูญมาเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิและเสียภาษีจะต้องเป็นจำนวนสูญที่เกิดขึ้นจริงแล้วเท่านั้น ลูกหนี้ไม่มีความสามารถชำระหนี้ได้จริง เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะยังบกพร่องในหลักการบัญชี คือ   การเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่าย ซึ่งถือว่ารายได้เกิดขึ้นปีใด ค่าใช้จ่ายก็ควรจะเกิดขึ้นในปีนั้นด้วย เช่น    มีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อในปี 25x 1 เกิดลูกหนี้ขึ้นและเกิดรายได้ขึ้นแต่ลูกหนี้เป็นหนี้สูญในปี 25x2         ถือเป็นค่าใช้จ่ายในปี 25x2 เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 1

   25x1

Jan.   1    The entrepreneur had accounts receivable balance the amount of 12,000 baht in                   total consisting of Mr.A 70,000 baht and Mr.B 5,000 baht.

             (กิจการมียอดลูกหนีคงเหลือยกมา จำนวน 12,000 บาท ในจำนวนนี้ประกอบด้วยนาย A                   จำนวน 7,000 บาท และนาย B จำนวน 5,000 บาท)

Oct.   1    The court ordered Mr.B who is bankrupt. The entrepreneur to direct write off as                   bad debt to Mr.B

             (ศาลสังให้ นาย B เป็นบุคคลล้มละลาย กิจการจึงตัดจำหน่าย ลูกหนี้ นาย B เป็นหนี้สูญ)

Recorded in the general journal are as follow

(บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปดังนี้)

  25x1

Oct.   1  Dr. Bad Debt                               xxx

                       Cr. Accounts Receivable            xxx

          2. วิธีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Accounts) เป็นวิธีที่ประมาณจำนวนหนี้ที่กิจการคาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ และตั้งเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด ซึ่งถือว่าถูกต้องตามหลักการเปรียบเทียบการเกิดรายได้และค่าใช้จ่าย แม้ว่าจะยังไม่เกิดหนี้สูญขึ้นก็ตามและเป็นวิธีที่วัดมูลค่าของลูกหนี้ให้แสดงมูลค่าที่คาดว่าจะรียกเก็บเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญออกในงบแสดงฐานะการเงินได้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด สำหรับการกำหนดอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของกิจการ ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจและข้อมูลในอดีตของลูกหนี้ประกอบการวิเคราะห์ด้วย หลังจากวิเคราะห์แล้วจะมีหลัก

การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปดังนี้

Dr. Doubtful Accounts Expense (5)        XXX

Cr. Allowance for Doubtful Accounts (1)         XXX

วิธีประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ มี 2 วิธี

          2.1 ประมาณการจากยอดขาย ปกติจะใช้ประมาณการจากยอดขายเชื่อ วิธีนี้จะประมาณการจากยอดขายหรือบริการเป็นเงินเชื่อทั้งจำนวน โดยไม่ต้องคำนึงว่าในปีก่อนหรืองวดบัญชีก่อนนั้น มีการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้บ้างหรือไม่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 2

              In 25x1 the entrepreneur has all sales credit of 100,000 baht. There is estimated allowance for doubtful accounts of 1% from the sale credit.

              (ในปี 25x1 กิจการมียอดขายเชื่อทั้งสิ้น 100,000 บาท กิจการมีนโยบายประมาณการหนี้สงสัยจะสูญ 1% จากยอดขายเชื่อ)

วิธีคำนวณ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ  = 100,000 x

1

100

  = 1,000

Recorded in the general journal are as follow

(บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปดังนี้)

  25x1

Dec. 31  Dr. Doubtful Accounts                               1,000

                       Cr. Allowance for Doubtful Accounts         1,000

          2.2 ประมาณการจากยอดลูกหนี้ วิธีนี้จะคำนวณ โดยกำหนดเป็นอัตราร้อยละของยอดลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นงวด ซึ่งจะต้องคำนึงถึงบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งไว้ก่อนหน้านี้ ก่อนปรับปรุงทุกครั้ง เพื่อให้ได้ยอดตามที่กิจการได้กำหนดนโยบายเอาไว้

ตัวอย่างที่ 3

          On December 31st 25x1, The entrepreneur has accounts receivable balances of 70,000 baht and its has approximately allowance for doubtful account 3% from ending accounts receivable.

          (ในวันที่ 31 ธันวาคม 25x1 กิจการมียอดลูกหนี้คงเหลือ 70,000 บาท กิจการมีนโยบายประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 3% ของยอดลูกหนี้สิ้นปี)

วิธีคำนวณ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ  = 70,000  x

3

100

  = 2,100

Recorded in the general journal are as follow

(บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปดังนี้)

  25x1

Dec. 31  Dr. Doubtful Accounts                               2,100

                       Cr. Allowance for Doubtful Accounts         2,100

bottom of page