top of page

Depreciation Expense
ค่าเสื่อมราคา

          สถาวิชาชีพบัญชีได้ให้คำนิยามของคำเสื่อมราคา (Depreciation) ไว้ว่า "การปันส่วนมูลค่าเสื่อมสภาพของสินทรัพย์อย่างมีระบบตลอดอายุการใช้งานที่ได้ประมาณไว้" ตามหลักการบัญชีได้กำหนดให้มีการคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตน และเสื่อมสภาพเมือใช้งาน เช่น รถยนต์ อาคารสำนักงาน โรงงาน เครื่องจักรผลิตสินค้า คอมพิวเตอร์ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ยกเว้นที่ดิน ไม่ต้องคิดค่าเสื่อมราคา เพราะเหตุว่า ที่ดินเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจไม่จำกัด และเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีการเสื่อมสภาพ        จากการใช้งาน

         การคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์นั้น กิจการจำเป็นต้องมีข้อมูลต่อไปนี้

     1. ต้นทุนของสินทรัพย์ (Cost of Assets) ในวันที่กิจการได้สินทรัพย์นั้น กิจการต้องบันทึกบัญชีจำนวนเงินที่กิจการได้จ่ายไป หรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งอื่นที่กิจการนำไปแลกเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น เป็นต้นทุนของสินทรัพย์ เนื่องจากสินทรัพย์นั้นให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กิจการ

      2. มูลค่าคงเหลือ (Residual Value) หมายถึง ราคาปัจจุบันของสินทรัพย์ที่คาดว่าจะขายได้ในสภาพของสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดอายการใช้งานหักด้วยค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินทรัพย์

     3. อายุการใช้งานของสินทรัพย์ (Estimated Useful Life) หมายถึง ระยะเวลาหรือจำนวนผลผลิตที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์ เช่น จำนวนหน่วยผลผลิต จำนวนชั่วโมงการทำงาน เป็นต้น

     4. มูลค่าตามบัญชี (Book Value) หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์ หลังหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อหนี้การด้อยค่าสะสมของสินทรัพย์

     5. วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคา (Depreciation Method) มีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีนี้จะทำให้กิจการมีค่าเสื่อมราคาไม่เท่ากัน แต่ทั้งนี้กิจการเลือกใชีวิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาให้สอดคล้องกับรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์นั้น และหากกิจการเลือกก็ต้องใช้วิธีนั้นอย่างสม่ำเสมอตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้น เว้นแต่รูปแบบประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์นั้นเปลี่ยนเปลงไป ซึ่งวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคามีหลายวิธี

          5.1 วิธีเส้นตรง (Straight Line Method) การคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีนี้จะเป็นการปันส่วนหรือกระจายมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรให้เป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปี ที่มีจำนวนเท่า ๆ กันทุกปีตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้น

          5.2 วิธีคำนวณหน่วยผลผลิต (Units of Production Method) วิธีนี้จะคิดค่าเสื่อมราคาตามจำนวนผลผลิตที่ได้ในระหว่างปี กล่าวคือ ถ้าได้ผลผลิตมากก็จะคิดค่าเสื่อมราคามาก แต่ถ้าได้ผลผลิตน้อยก็จะคิดค่าเสื่อมราคาน้อย เช่น ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร เป็นต้น

          5.3 วิธีอัตราลดลง (Decreasing Charge Method) วิธีนี้จะคิดค่าเสื่อมราคาแต่ละปีจะไม่เท่ากัน โดยใช้หลักเกณฑ์ที่ว่าในปีแรกที่ได้สินทรัพย์ถาวรนั้นมาจะมีการใช้สินทรัพย์นั้นมาก ดังนั้นค่าเสื่อมราคาในปีแรกจะมาก    และลดลงเรื่อย ๆ ในปีต่อมา

          5.4 วิธีผลรวมจำนวนปี (Sum of the Years Digits Method) จะมีหลักการเดียวกันกับวิธีอัตราลดลง   โดยถือว่าปีแรกกิจการมีการใช้สินทรัพย์มาก ดังนั้นค่าเสื่อมราคาในปีแรกจะมากในปีต่อ ๆ ไปจะลดลงไปเรื่อย ๆ

         

          การคิดค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีเส้นตรง มีหลักการที่สังเกตได้ซัดเจนก็คือ ค่าเสื่อมราคาที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายจะต้องมีจำนวนเท่า ๆ กันทุกปี มีวิธีคิด 2 วิธีดังนี้

1. การนำต้นทุนของสินทรัพย์หักด้วยมูลค่าคงเหลือ (ถ้ามี) หารด้วยอายุการใช้งาน ดังนี้

ค่าเสื่อมราคา  =

ต้นทุนของสินทรัพย์ - มูลค่าคงเหลือ

อายุการใช้งาน

เมื่อคำนวณค่าเสื่อมราคาได้แล้ว หลักการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปมี ดังนี้

Dr. Depreciation Expense – Name of Assets (5)  xxx

Cr. Accumulated Depreciation - Name of Assets (1)    xxx

ตัวอย่างที่ 1

  25x1

Jul.  1   The entrepreneur by a car for about 800,000 baht. Estimated useful life 10 year and                 residual value 10,000 baht and closing of account December of 31st, in very year.

           (กิจหารซื้อรถยนต์ ราคา 800,000 บาท ประมาณว่าจะใช้งาน 10 ปี เมื่อหมดอายุการใช้งานจะขาย             ได้เงิน 10,000 บาท กิจการปิดบัญชีทุกวันที่ 31 ธันวาคม ทุกปีค่าเสื่อมราคารถยนต์ในวันสิ้นงวด             บัญชี 31 ธันวาคม 25x1 คำนวณได้ดังนี้)

ค่าเสื่อมราคา  =

= 79,000 บาท ต่อ 1 ปี

800,000 - 10,000

10

     กิจการซื้อรถยนต์ในวันที่ 1 กรกฎาคม ดังนั้น ค่าเสื่อมราคาจะคิดตั้งแต่วันที่ซื้อถึงวันสิ้นงวดบัญชี เป็นระยะเวลา 6 เดือน ค่าเสื่อมราคา - รถยนต์ = 79,000 x       = 39,500 บาท

6
12

Recorded in the general journal are as follow

(บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปดังนี้)

   25x1

Dec. 31  Dr. Depreciation Expense - Car     39,500

                          Cr. Accumulated Depreciation - Car     39,500

2. การคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรเป็นอัตราร้อยละตามนโยบายของกิจการ

ตัวอย่างที่ 2

   25x1

Aug.   1    The entrepreneur purchased office equipment 120,000 baht, depreciation rate of 20%                 per year and closing of account on December of 31st, in every year.

             (กิจการซี้ออุปกรณ์สำนักงาน ราคา 120,000 บาท กิจการคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 20% ต่อปี                 กิจการปิดบัญชี ทุกวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี)

กรคำนวณค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์สำนักงาน คำนวณได้ดังนี้

ค่าเสื่อมราคา  = 120,000  x

20

100

  = 24,000

     ค่าเสื่อมราคา จำนวน 24,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับระยะเวลา 1 ปี เพราะอัตราค่าเสื่อมราคาที่กำหนดเป็นต่อปี กิจการซื้ออุปกรณ์สำนักงานในวันที่ 1 สิงหาคม ระยะเวลาที่คิดค่าเสื่อมราคา คิดจากวันที่ซื้อ คือ 1 สิงหาคม จนถึงวันสิ้นงวดบัญชี คือ 31 ธันวาคม ดังนั้น ค่าเสื่อมราคาที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีปัจจุบันจะคำนวณเพียง 5 เดือน คำนวณได้ดังนี้

ค่าเสื่อมราคา  = 24,000  x

5

12

= 10,000 

หรือ   = 120,000 x       x

20

100

5

12

= 10,000 

Recorded in the general journal are as follow

(บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปดังนี้)

   25x1

Dec. 31   Dr. Depreciation Expense - Office Equipment   10,000

                      Cr. Accumulated Depreciation-Office Equipment    10,000

bottom of page